วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ฟ้อนเจิง ศิลปะการต่อสู้ผู้ชายล้านนา


ฟ้อนเจิง
ฟ้อนเจิง เป็นการร่ายรำตามกระบวนท่าตามแบบแผน ที่แสดงออกถึงศิลปะในการต่อสู้ของชาย ซึ่งท่ารำนั้นมีทั้งท่าหลักและท่าที่ผู้รำแต่ละคน จะใช้ความสามารถเฉพาะตัว พลิกแพลงให้ดูสวยงาม
ในระยะแรก ฟ้อนเจิง หมายรวมเอาทั้งการฟ้อนประกอบอาวุธและไม่มีอาวุธ โดยเรียกลักษณะการฟ้อนตามนั้นคือ
ใช้ไม้ฅ้อน หรือไม้พลองประกอบการรำ เรียกว่า ฟ้อนเจิงไม้ฅ้อน
ใช้หอกประกอบการร่ายรำ เรียกว่า ฟ้อนเจิงหอก
ใช้ดาบประกอบการร่ายรำ เรียกว่า ฟ้องเจิงดาบ
ใช้ลา คือดาบวงพระจันทร์ประกอบการร่ายรำ เรียกว่า ฟ้อนเจิงลา ร่ายรำด้วยมือเปล่า เรียกว่า ฟ้อนเจิงมือ


การฟ้อนเจิงประกอบอาวุธบางประเภทนั้น ในระยะหลังไม่ค่อยได้รับความนิยม เช่น ฟ้อนเจิงไม้ฅ้อน และฟ้อนเจิงหอก แต่อาจพบอยู่บ้างในการพิธีฟ้อนผี ส่วนการฟ้อนเจิงลานั้นไม่ปรากฏว่ามีการฟ้อนให้เห็น ส่วนการฟ้อนเจิงดาบนั้นได้รับความนิยมมาก ทั้งในการแสดงประกอบการตีกลองอย่างในขบวนแห่ครัวทานเข้าวัด และเป็นที่นิยมมากในการแสดงเชิงศิลปวัฒนธรรมบนเวที สำหรับการฟ้อนเจิงมือ หรือฟ้อนเจิงนั้น จะมีลูกเล่นได้มากกว่าการฟ้อนประกอบอาวุธ เพราะคล่องตัวมากกว่าที่จะต้องแสดงการรำอาวุธควบคู่กับการฟ้อน
การฟ้อนเจิงนี้ มักดำเนินร่วมกับตบบ่าผาบ หรือตบขนาบ คือการตบไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อให้เกิดเสียงดัง การฟ้อนเจิงหรือฟ้อนรำแสดงลีลาประกอบการตบไปตามร่างกายดังกล่าว มักเรียกรวมกันว่า ตบบ่าผาบฟ้อนเจิง และมักเป็นการเริ่มต้นก่อนที่จะมีการฟ้อนอาวุธ หรือกิจกรรมอื่นที่คล้ายคลึงกัน


การเรียนฟ้อนเจิงนั้น ผู้เรียนต้องหามื้อจั๋นวันดี เป็นวันอุดมฤกษ์ ไปขอเรียนกับครูที่มีความสามารถ โดยต้องมีการขึ้นขันหรือ การจัดเครื่องคารวะ คือกรวยดอกไม้ธูปเทียน พลู หมาก ข้าวเปลือก ข้าวสาร สุรา  ผ้าขาว ผ้าแดง กล้วย อ้อย มะพร้าว และค่าครูตามกำหนด ครูบางท่านอาจเสี่ยงทายโดยให้ผู้จะสมัครเป็นศิษย์นำไก่ไปคนละตัว ครูเจิงคือผู้สอนฟ้อนเจิงจะขีดวงกลมที่ลานบ้านแล้วเชือดคอไก่ และโยนลงในวงนั้น หากไก่ของผู้ใดดิ้นออกไปตายนอกเขตวงกลม ก็คือว่าผีครูไม่อนุญาตให้เรียน และหากเรียนจนสำเร็จแล้ว ครูเจิง อนุญาตให้นำวิชาไปใช้ได้เรียกว่าปลดขันตั้ง โดยทำพิธียกขันตั้งคือพานเครื่องสักการะจากหิ้งผีครู แจกธูปเทียนดอกไม้จากในพานให้แก่ศิษย์  เป็นเสร็จพิธี

    สนั่น   ธรรมธิ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ภาพประกอบโดยจรัสพันธ์  ตันตระกูล และเสาวณีย์  คำวงค์)

 ขอบคุณข้อมูลจาก  สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำหรับตอนนี้ก็มีการฟ้อนเจิงดีๆซึ่งหาดูได้ยากมาให้ได้รับชมกันนะครับลองชมดุเป้นท่าร่ายรำที่ดูแข็งแรงผสมผสานกับความอ่อนช้อยครับ



วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

กลองสะบัดชัย


กลองสะบัดชัย

การตีกลองสะบัดชัย เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง  ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวนแห่ หรือ งานแสดงศิลปะพืนบ้าน โดยทั่วไป ลีลาในการตี มีลักษณะโลดโผนเร้าใจ   มีการใช้อวัยวะ หรือ ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ศอก เข่า ศรีษะ ประกอบกาตีด้วยท่า ให่การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ชม และเป็นที่นิยมกันอยางกว้างขวางในปัจจุบัน  ใช้ตีบอลสัญญาน มีกลายลักษณะดังนี้

- สัญญานโจมตีข้าศึก
- สัญญานบอกข่าวในชุมชน
- เป็นมหรสพ
- เป็นเครื่องประโคมฉลองชัยชนะ
- เป็นเคื่องประโคมเพื่อความสนุกสนาน
  
     รูปร่างลักษณะของกลองสะบัดชัย

รูปร่างลักษณะแต่เดิม เท่าที่พบมีแห่งเดียวคือ  กลองสะบัดชัยจำลองทำด้วย สำริด ขุดพบที่วัดเจดีย์สูง

ตำบล บ้านหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก idealanna.igetweb.com ครับ

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

ต๋ามฮีต โตยฮอยสล่าเมือง

" สล่า" เป็นคำสรพพนามที่ใช้เรียกขานกันในภาษาท้องถิ่น ภาคเหนือความหมารยเหมือนกับคำว่า"ช่าง" หมายถึง ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสาขาอาชีพตามแขนงงานของตนคำว่า"สล่า" นั้นมีความยิ่งใหญ่ ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้ที่จะยึดอาชีพงานสล่าได้นั้น จำเป็นต้องมีทักษะฝึกฝนเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ให้เกิดความชำนาญได้เป็นอย่างดี รู้จักคิดเป็นทำเป็นสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้อง ฉลาด รอบคอบ ขยันอดทนและสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเป็นการแสดงถึงจิตวิญญาณ วิถีชีวิต พิธีกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมพื้นบ้านจึงได้รับการเรียกขานขนานนามว่า " สล่าเมือง" นอกจากนี้ยังแบ่งประเภทของสล่าเมืองได้อีกสามลักษณะด้วยกันดังนี้
- อันดับแรก ได้แก่ผู้ที่มีความสามารถ ทักษะในการทำงานอย่างชำนาญเรียกว่า"สล่าเก๊า" หมายถึุง ผู้ที่เป็นหัวหน้าช่างนั่นเอง
-อันดับสอง สล่าผู้มีประสบการณ์ทำงานเป็นเวลาหลายปีมีคุณวุฒิวัยวุฒิ เป็นทีรู้จักยอมรับในวงการสล่าและสังคมเป็นอย่างดีเรียกว่า "สล่าหลวง"
-ส่วนสล่าอันดับสามคงจะเป็นผู้ที่กำลังแสวงหาความรู้ประสบการณ์จากการทำงาน เพื่อที่จะก้าวขึ้นไปเป็นตำแหน่งสล่าเก๊า เรียกว่า "สล่าตังป๋าย"หรือช่างกำลังฝึกหัด


สำหรับข้อมูลที่ท่านได้อ่านนี้ก็เป็นเพียงข้อมูลเบื้องกี่ยวกับสล่าเมืองเท่านั้นหากสนใจสามารถเข้าไป

ศึกษาข้อมูลต่อได้ที่ www.salahlanna.com ได้นะครับ
สำหรับวันนี้ก็มีตัวอย่างงานฝีมือสล่ามาให้ชมกันนะครับ