จรัญมโนเพ็ชร ศิลปินผุ้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมสาขา ศิลปการแสดง (เพลงพิ้นบ้าน)ประจำปี 2540 จรัล มโนเพ็ชร เป็นบุตรนายสิงห์แก้ง มโนเพ็ชรกับเจ้าต่อมคำ ณ เชียงใหม่ มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา 7 คน คือ มีพี่สาว 1 คน น้องชาย 6 คน นายจรัล มโนเพ็ชรเป็นบุตรคนที่ 2 ได้เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนเมตตาศึกษา วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ แล้ววิทยาลัยเทคนิคพายัพ ภาควิชาบริหารบริหารธุรกิจ เมื่อจบการศึกษาได้เข้าทำงานที่กรมทางหลวง ย้ายมาทำต่อที่ธนาคารเพื่อการเกษตรจึงลาออกมาเริ่มต้นงานทางด้านศิลปะการร้องเพลง สำหรับงานเพลงมีหลายผลงานมีเพลงที่ฝากไว้เช่น "โฟล์คซองคำเมือง ชุดอมตะ" "ดอกไม้ร่วงที่แม่ริม" "เสียงซึงที่สันทราย" เป็นต้น สำหรับเกียรติคุณที่ได้รับของจรัล มโนเพ็ชร นั้นมีมากมาย ขอยกตัวอย่างสักรางวัลนั้นก็คือ รางวัล "บุคคลดีเด่นทางการใช่ภาษา" เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2537 โดยได้รับพระราชทางจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา โดยมีผลงานของจรัล ที่สื่อถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมล้านนามาฝากกันหนึ่งผลงาน
วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
คำพังเพย/สุภาษิตคำเมือง
วันนี้เรามีสุภาษิต คำเมืองมาฝากกันนะคับ ลองมาอ่านกันดู
"ปัญญาชนมองแต่ต้นถึงปลาย คนงมงายมองแต่ปลายทางเดียว"
คนฉลาดย่อมพิจารณาตั้งแต่ต้นจนถึงจบ แต่คนโง่มักมองที่ตอนจบเท่านั้น
"คนเฮาใหญ่แล้ว บ่ถ้าไผสอน จิ๊งหีดแมงจอนไผสอนมันเต้น"
คนเราเมื่อเป็นผู้ใหญ่ควรมีวุฒิภาวะได้แล้วไม่ต้องให้ใครมาสั่งสอน
"จับใจ๋แฮ้ง บ่จับใจ๋ก๋า ถูกใจ๋ครูบา บ่เปิงใจ๋พระน้อย"
คนเราทำอะไรย่อมไม่ถูกใจใครไปเสียทุกคน
"คนง่าวบ่มี คนผะหญาดีก็ง่อม"
ถ้าคนโง่ไม่มี คนฉลาดก็เซ็ง
"อู้หื้อเปิ้นฮัก ยากนักจักหวัง อู้หื้อเพิ่นชัง กำเดียวก่อได้"
จะพูดพูดจะจาอะไรให้คนอื่นเขาฟังและชอบเรามันยากเย็นแสนเข็ญ
หากว่าจะพูดให้คนอื่นชิงชังแค่คำสองคำก็ทำได้
"ลูกใพ้กับแม่ผัว เหมือนดุ้นหลัวกับไม้ก้อม"
ลูกสะไภ้กับแม่ผัวเปรียบดั่งไม้ฟืนสำหรับก่อไฟกับไม้ท่อนใหญ่ที่มีค่ามากกว่า
"ไม้ต้นเดียวบ่เป็นเหล่า มีก้าคนเฒ่าบ่เป็นบ้านเป็นเมือง"
ทุกคนต่างมีความสำคัญ ควรมีความสามัคคี
"มีดน้อยเคี่ยนต้นตาล"
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
"ของบ่กินรู้เน่า ของบ่เล่ารู้ลืม"
ควรใส่ใจหมั่นฝึกฝนวิชาความรู้อยู่เสมอ
"อดเผ็ดได้กินหวาน อดสานได้ซ้า"
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน
"คนง่าวบ่มี คนผะหญาดีก็ง่อม"
ถ้าคนโง่ไม่มี คนฉลาดก็เซ็ง
"อู้หื้อเปิ้นฮัก ยากนักจักหวัง อู้หื้อเพิ่นชัง กำเดียวก่อได้"
จะพูดพูดจะจาอะไรให้คนอื่นเขาฟังและชอบเรามันยากเย็นแสนเข็ญ
หากว่าจะพูดให้คนอื่นชิงชังแค่คำสองคำก็ทำได้
"ลูกใพ้กับแม่ผัว เหมือนดุ้นหลัวกับไม้ก้อม"
ลูกสะไภ้กับแม่ผัวเปรียบดั่งไม้ฟืนสำหรับก่อไฟกับไม้ท่อนใหญ่ที่มีค่ามากกว่า
"ไม้ต้นเดียวบ่เป็นเหล่า มีก้าคนเฒ่าบ่เป็นบ้านเป็นเมือง"
ทุกคนต่างมีความสำคัญ ควรมีความสามัคคี
"มีดน้อยเคี่ยนต้นตาล"
ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
"ของบ่กินรู้เน่า ของบ่เล่ารู้ลืม"
ควรใส่ใจหมั่นฝึกฝนวิชาความรู้อยู่เสมอ
"อดเผ็ดได้กินหวาน อดสานได้ซ้า"
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน
"เงินอยู่ในน้ำ คำอยู่ในดิน"
ทรัพย์ในดินสินในน้ำ ถ้ามีความขยันก็ไม่อดตาย
"มีดพร้าบ่หมั่นฝน มันก็เป็นขี้เหมี้ยง"
มีความรู้แต่ไม่หมั่นทบทวนก็จะลืมได้
"เสียมบ่คม ใส่ด้ามหนักๆ ความฮู้บ่นัก หื้อหมั่นฮ่ำหมั่นเฮียน"
ให้มีความพยายาม อย่าท้อถอย แล้วจะเกิดผลสำเร็จ
"ดาบดีไว้ในฝัก กำหลักไว้ในใจ"
คมในฝัก คนดีย่อมไม่โอ้อวด
"ไม้คดใช้แป๋งขอ เหล็กงอใช้แป๋งเคียว คนคดอย่างเดียวใจ้ก๋านบ่ได้"
ไม้คดเหล็กงอใช้ทำขอเคียว แต่คนคดไม่มีประโยชน์อันใด
"ตีเหล็กตี้ไหน เปลืองถ่านที่หั้น"
มีงานที่ไหน สิ้นเปลืองเงินทองที่นั่น
"ฝนตกซิซิ นานเอื้อน หมาขี้เฮื้อน นานตาย"
สิ่งที่ไม่ชอบ มักจะรู้สึกรำคาญใจ
"ปลาตัวหลวง จ้างตายน้ำตื้น"
ปลาใหญ่ตายน้ำตื้น คนฉลาดมักจนปัญญาต่อคำถามง่ายๆ
"งัวควายจ้างม้า ตายแล้วเหลือหนัง ดูกขนเขายัง เอาใจ้ก๋านได้"
โคกระบือล้มตาย ยังมีประโยชน์
"แมงงุนมักจิ้นเน่า แมงเม่ามักต๋อมไฟ"
ลางเนื้อชอบลางยา แต่ละคนย่อมชอบไม่เหมือนกัน
"กล้วยบ่สุก นกบ่กิน"
สิ่งที่มีประโยชน์ ขึ้นอยู่กับกาลเวลา
"แมวบ่อยู่ หนูล่า บ่มีผู้ว่า จ้างฉิบหาย"
แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง ขาดผู้นำแล้วมักจะยุ่งเหยิง
วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอักษรล้านนา (ตั๋วเมือง)
เนื่องด้วยล้านนาเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ มีวัฒนธรรมมาจากหลากหลายพื้นที่ มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตัวเอง เรียกตัวเขียนล้านนาว่า “อักษรล้านนา” ในล้านนามีตัวอักษรใช้ 3 แบบ คือ อักษรธรรมล้านนา อักษรฝักขาม และ อักษรไทยนิเทศ หรืออักษรขอมเมือง อักษรทั้งสามชนิดเป็นอักษรโบราณ ในอดีตเคยใช้กันอย่างแพร่หลาย
อักษรธรรมล้านนา หรือตัวเมือง
เป็นอักษรที่สำคัญ และแพร่หลายในล้านนามาก การกำเนิดอักษรธรรมล้านนาก็คล้ายกับการกำเนิดอักษรทั้งหลาย คือ ปรับปรุงจากอักษรที่มีอยู่เป็นระบบมาแล้ว คือ อักษรมอญ หลักฐานเกี่ยวกับการกำเนิดอักษรธรรมล้านนาไม่ปรากฎ หลักฐานอักษรธรรมล้านนาเก่าที่สุดเท่าที่พบในปัจจุบัน คือ จารึกลานทอง พบที่สุโขทัย จารึกได้ระบุศักราชไว้ตรงกับ พ.ศ.1919 อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบหลักฐานว่า อักษรธรรมล้านนาเกิดขึ้นในสมัยใด เพราะอักษรธรรมล้านนามีกำเนิดจากพัฒนาการของภาษาคือ ค่อยๆเปลี่ยนแปลงทีละน้อยจึงอาศัยเวลานาน
การกำเนิดอักษรธรรมล้านนา มีสาเหตุสำคัญมากจาความจำเป็นทางศาสนาเพื่อเขียนพระธรรมคำภีร์ให้เป็นสื่อแก่คนในวงกว้าง อักษรธรรมล้านนาจึงเริ่มต้นจากการใช้เขียนภาษาบาลีเป็นหลัก ต่อมาดัดแปลงเพื่อใช้เขียนภาษาเมืองด้วย
อักษรฝักขาม
อักษรฝักขาม เป็นตัวหนังสือของพ่อขุนรามฯที่แพร่เข้าไปในล้านนา โดยได้เปลี่ยนรูปร่างและอักขรวิธีไปบ้าง จึงกลายเป็นอักษรฝักขาม ในล้านนานิยมใช้อักษรฝักขามสำหรับเขียนศิลาจารึก หลักที่เขียนเป็นอักษรฝักขามเก่าแก่ที่สุดคือ ศิลาจารึก ลพ.9 เขียนพ.ศ.1954 และหลักใหม่สุดเขียน พ.ศ.2370
อักษรไทยนิเทศ
อักษรไทยนิเทศหรืออักษรขอมเมือง ตัวอักษรชนิดนี้เกิดจากการดัดแปลงอักษรธรรมล้านนา และอักษรฝักขามเข้าด้วยกันแล้วเติม “ศก” แบบขอม อักษรไทยนิเทศังสรุปไม่ได้ชัดเจนว่า มีมาเมื่อใด เดิมเข้าใจกันว่าเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้ากาวิละ แต่ภายหลังเริ่มพบหลักฐานว่ามีมาก่อนหน้านั้นแล้ว อักษรไทยนิเทศนิยมใช้เขียนในกวีนิพนธ์ต่างๆที่เป็นเรื่องทางโลก เช่น นิราศหริภุญไชย โคลงมังทรารบเชียงใหม่ โคลงพรหมทัต ทั้งนี้ถือว่าอักษรธรรมเป็นของสูง ใช้เขียนในศาสนา จึงไม่ใช้เขียนงานของกวีนิพนธ์
อักษรทั้งสามแบบดังกล่าว มีหน้าที่ในสังคมล้านนาต่างกัน และมีที่มาต่างกันด้วย การใช้ตัวอักษรของชาวล้านนาในอดีตจึงต้องพิจารณาตามความเหมาะสม นักเรียนประวัติศาสตร์ควรศึกษาที่มาของอักษรที่ใช้ในล้านนา และสามารถศึกษาหลักฐานประวัติศาสตร์จากอักษรโบราณได้
ข้อมูลจาก หนังสือประวัติศาสตร์ล้านนา อ.สุรัสวดี และรูป จาก หลายๆที่
วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
อาณาจัการล้านนนา
อาณาจักรล้านนา คือ อาณาจักรที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยภาคใต้ของจีน หรือ ๑๒ ปันนาเชนเมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ภาคตะวันออกของพม่า ฝั่งตะวันออกของแม่นำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก ฝั่งตะวันตกแม่นำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่จังหวัดจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดแพร่ จังหวัดพะเยา จังหวัดน่าน จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง และ บางส่วนของจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษา ตัวหนังสือ วัฒนธรรม และ ประเพณี เป็นของตนเอง ต่อมาถูกปกครองในฐานะรัฐบรรณาการของอาณาจักรตองอู อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรอังวะ จนสิ้นฐานะอาณาจักร กลายเป็นเมืองส่วนหนึ่งของอาณาจักรอังวะในราชวงศ์นยองยาน ไปในที่สุด
ประวัติการก่อตั้ง
พญามังราย หรือ เม็งราย กษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยาง องค์ที่ 25 ในราชวงศ์ลวจังกราชปู่เจ้าลาวจก ได้เริ่มตีเมืองเล็กเมืองน้อย ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำกก แม่น้ำอิง และแม่น้ำปิงตอนบน รวบรวมเมืองต่างๆให้เป็นปึกแผ่น นอกจากเงินยางแล้ว ยังมีเมืองพะเยาของพญางำเมืองพระสหาย ซึ่งพญาเม็งรายไม่ประสงค์จะได้เมืองพะเยาด้วยการสงคราม แต่ทรงใช้วิธีผูกสัมพันธไมตรีแทน หลังจากขยายอำนาจระยะหนึ่ง พระองค์ทรงย้ายศูนย์กลางการปกครอง โดยสร้างเมืองเชียงรายขึ้นแทนเมืองเงินยาง เนื่องด้วยเชียงรายตั้งอยู่ริมแม่น้ำกกเหมาะเป็นชัยสมรภูมิ ตลอดจนทำการเกษตรและการค้าขาย
หลังจากได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองมาอยู่ที่เมืองเชียงรายแล้ว พระองค์ก็ได้ขยายอาณาจักรแผ่อิทธิพลลงทางมาทางทิศใต้ ขณะนั้นก็ได้มีอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนอยู่แล้วคือ อาณาจักรหริภุญชัย มีนครลำพูนเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ในชัยสมรภูมิที่เหมาะสมประกอบด้วยมีแม่น้ำสองสายไหลผ่านได้แก่แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิงซึ่งเป็นลำน้ำสายใหญ่ไหลลงสู่ทะเลเหมาะแก่การค้าขาย มีนครลำปางเป็นเมืองหน้าด่านคอยป้องกันศึกศัตรู สองเมืองนี้เป็นเมืองใหญ่มีกษัตริย์ปกครองอย่างเข้มแข็ง การที่จะเป็นใหญ่ในดินแดนแถบนี้ได้จะต้องตีอาณาจักรหริภุญชัยให้ได้ พระองค์ได้รวบรวมกำลังผู้คนจากที่ได้จากตีเมืองเล็กเมืองน้อยรวมกันเข้าเป็นทัพใหญ่และยกลงใต้เพื่อจะตีอาณาจักรหริภุญชัยให้ได้ โดยเริ่มจากตีเมืองเขลางค์นคร นครลำปางเมืองหน้าด่านของอาณาจักรหริภุญชัยก่อน เมื่อได้เมืองลำปางแล้วก็ยกทัพเข้าตีนครลำพูน (แคว้นหริภุญชัย) พระองค์เป็นกษัตริย์ชาตินักรบมีความสามารถในการรบไปทั่วทุกสารทิศ สามารถทำศึกเอาชนะเมืองเล็กเมืองน้อยแม้กระทั่งอาณาจักรหริภุญชัยแล้วรวบเข้ากับอาณาจักรโยนกเชียงแสนได้อย่างสมบูรณ์
หลังจากพญาเม็งรายรวบรวมอาณาจักรหริภุญชัยเข้ากับโยนกเชียงแสนเสร็จสิ้นแล้ว ได้ขนามนามราชอาณาจักรแห่งใหม่นี้ว่า "อาณาจักรล้านนา" พระองค์มีดำริจะสร้างราชธานีแห่งใหม่นี้ให้ใหญ่โตเพื่อให้สมกับเป็นศูนย์กลางการปกครองแห่งอาณาจักรล้านนาทั้งหมด พร้อมกันนั้นก็ ได้อัญเชิญพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบานสองพระองค์ได้แก่ พญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา และ พ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย มาร่วมกันสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ในสมรภูมิบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งมหานทีแม่ระมิงค์ แม่น้ำปิง โดยตั้งชื่อราชธานีแห่งใหม่นี้ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" แต่ก่อนที่จะตั้งเมือง พระองค์ทรงได้สร้างราชธานีชั่วคราวขึ้นก่อนแล้ว ซึ่งก็เรียกว่า เวียงกุมกามแต่เนื่องจากเวียงกุมกามประสบภัยธรรมชาติใหญ่หลวงเกิดน้ำท่วมเมืองจนกลายเป็นเมืองบาดาล ดังนั้นพระองค์จึงได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ นครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 และได้เป็นศูนย์กลางการปกครองราชอาณาจักรล้านนานับแต่นั้น นครเชียงใหม่มีอาณาบริเวณอยู่ระหว่างเชิงดอยอ้อยช้าง (ดอยสุเทพ) และ บริเวณที่ราบฝั่งขวาของแม่น้ำปิง (พิงคนที) นับเป็นสมรภูมิที่ดีและเหมาะแก่การเพาะปลูกเนื่องจากเป็นบริเวณที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน
การเมือง การปกครอง สมัยราชวงศ์เม็งราย
พญาเม็งรายมหาราชทรงส่งพระญาติวงศ์ของพระองค์ ไปปกครองหัวเมืองต่างๆ ที่เป็นเมืองขึ้น หรือเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ เช่น เมืองเขลางค์ (ลำปาง) เมืองเขมรัฐเชียงตุง (ในพม่า) และ เชียงรุ้ง (สิบสองปันนาในจีน) ทรงส่งพระราชโอรสไปปกครอง เมืองที่ใหญ่และสำคัญๆ ได้แก่ เมืองนาย (หัวเมืองไทใหญ่) และเชียงราย ซึ่งเคยเป็นเมืองราชธานีของล้านนา
รัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1985-2030) กษัตริย์องค์ที่ 9 ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ได้รับการยกย่องให้มีฐานะเป็น "ราชาธิราช" พระองค์ทรงแผ่ขยายขอบขัณฑสีมาของอาณาจักรล้านนาให้ยิ่งใหญ่และกว้างขวางกว่าเดิม
- ด้านทิศตะวันออก เมืองนันทบุรี (น่าน) แพร่สวางคบุรี จรดถึง หลวงพระบาง
- ด้านทิศตะวันตก ขยายไปจนถึงรัฐฉาน (ตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า) เช่น เมืองไลคา สีป้อ ยองห้วย
- ด้านเหนือ เมืองเชียงรุ้ง เมืองยอง
ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช อาณาจักรล้านนา ยังได้ทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นานถึง 25 ปี โดยมีสาเหตุมาจากความต้องการในการแผ่อิทธิพลเข้าไปในสุโขทัยของทั้งสองอาณาจักร แต่ไม่มีฝ่ายไหนได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ทั้งสองอาณาจักรจึงผูกสัมพันธไมตรีต่อกัน
ต่อมาอาณาจักรล้านนาตกเป็นประเทศราชของพม่าในปี 2101
การปกครองโดยตองอูและอังวะ
อาณาจักรล้านนา เริ่มเสื่อมลงในปลายรัชสมัย "พญาแก้ว" เมื่อกองทัพเชียงใหม่ได้พ่ายแพ้แก่ทัพเชียงตุงในการทำสงครามขยายอาณาจักร ไพร่พลในกำลังล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับปีนั้นเกิดอุทกภัยใหญ่หลวงขึ้นในเมืองเชียงใหม่ ทำให้บ้านเรือนราษฎรเสียหายและผู้คนเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก สภาพบ้านเมืองเริ่มอ่อนแอเกิดความไม่มั่นคง หลังจาก "พญาแก้ว" สิ้นพระชนม์ก็เกิดการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างขุนนางมีอำนาจมากขึ้น ถึงกับแต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าได้ เมื่อนครเชียงใหม่ศูนย์กลางอำนาจเกิดสั่นคลอน เมืองขึ้นต่าง ๆ ที่อยู่ในการปกครองของเชียงใหม่จึงแยกตัวเป็นอิสระ และไม่ส่งเครื่องราชบรรณาการอีกต่อไป
เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 1 พระเจ้าบุเรงนอง แห่งอาณาจักรตองอูได้ทำศึกมีชัยชนะไปทั่วทุกทิศานุทิศ จนได้รับการขนานนามพระเจ้าผู้ชนะสิบทิศ พระเจ้าบุเรงนองได้ทำศึกยึดครองนครเชียงใหม่ไปประเทศราชได้สำเร็จ รวมทั้งได้เข้าได้ยึดเมืองลูกหลวงและเมืองบริเวณของเชียงใหม่ไปเป็นประเทศราชด้วย ในช่วงแรกนั้นทางพม่ายังไม่ได้เข้ามาปกครองเชียงใหม่โดยตรง เนื่องจากยุ่งกับการศึกกับกรุงศรีอยุธยา แต่ยังคงให้ "พระเจ้าเมกุฎิ" ทำการปกครองบ้านเมืองต่อตามเดิม แต่ทางเชียงใหม่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปให้หงสาวดี ต่อมา "พระเจ้าเมกุฎิ" ทรงคิดที่จะตั้งตนเป็นอิสระ ฝ่ายพม่าจึงปลดออกและแต่งตั้ง "พระนางราชเทวี หรือ พระนางวิสุทธิเทวี" เชื้อสายราชวงศ์เม็งรายพระองค์สุดท้าย ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่แทน จนกระทั่งพระนางราชเทวีสิ้นพระชนม์ ทางฝ่ายพม่าจึงได้ส่งเจ้านายทางฝ่ายพม่ามาปกครองแทน เพื่อคอยดูแลความเรียบร้อยของเมืองเชียงใหม่ ในสมัยนั้นเมืองเชียงใหม่เกือบจะเป็นเมืองพระยามหานครของพม่าแล้ว อีกประการหนึ่งก็เพื่อที่จะเกณฑ์พลชาวเชียงใหม่ และ เตรียมเสบียงอาหารเพื่อไปทำศึกสงครามกับทางกรุงศรีอยุธยา
อาณาจักรล้านนาในฐานะเมืองขึ้นของพม่าไม่ได้มีความสงบสุข มีแต่การกบฎแก่งแย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่แต่เชียงใหม่อย่างเดียว เมืองอื่นๆในล้านนาก็ด้วย
จนกระทั่งราชวงศ์นยองยาน สถาปนาอาณาจักรรัตนปุระอังวะอีกครั้งจึงหันมาปกครองเชียงใหม่โดยตรง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)